โรงจำนองโฉนด ตอบโจทย์ทุกอาชีพ

โรงจำนองโฉนด ตอบโจทย์ทุกอาชีพ

เมนู

ตารางแสดงค่าธรรมเนียมและภาษีกรมที่ดิน 

กฎหมายเกี่ยวกับการขายฝาก

- การทำขายฝากต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น

- รายละเอียดสัญญาขายฝากต้องมี่ข้อมูลอย่างน้อย 5 ข้อดังนี้

   1. ชื่อที่อยู่ของคู่สัญญา

   2. รายละเอียดของทรัพย์ที่ขายฝาก

   3. ราคาขายฝาก

   4. จำนวนสินไถ่

   5. วันที่ขายฝากและ วันครบกำหนดไถ่

- เมื่อคำนวนยอดสินไถ่ จะต้องคิดเป็นดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี

- สัญญาขายฝากต้องมีระยะเวลา ขั้นต่ำ 1 ปี สูงสุดไม่เกิน 10 ปี

- กรณีที่ผู้ขาบฝากไถ่ทรัพย์ก่อนกำหนดเวลา สามารถลดดอกเบี้ยลงได้ตามสัดส่วน แต่ผู้รับซื้อฝากสามารถเรียกค่าเสีนโอกาสได้ 2% ของยอดขายฝาก

- กรณีไถ่ถอนด้วยการวางทรัพย์ต้องวางเต็มจำนวน

- ถ้ามีการขยายกำหนดไถ่ สามารถขยายเวลาได้หลายครั้ง แต่ระยะเวลารวมตั้งแต่เริ่มขายฝากต้องไม่เกิน 10 ปี

- กรณีที่มีคดีฟ้องร้องให้ถือเป็นคดีผู้บริโภคว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคโดยผู้ขายฝากเป็นผู้บริโภค

- ผู้ขายฝากต้องดูแลทรัพย์สินและอสังหาริมทรัพย์ไว้เป็นอย่างดีเสมือนเป็นของตนเอง

- หลังจากขายฝากแล้ว ผู้ขายฝากยังสามารถทำการเกษตรหรืออยู่อาศัยได้จนถึงวันไถ่ถอน โดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้รับซื้อฝาก

- ก่อนทำขายฝากถ้ามีการให้เช่าหรือให้ใช้ประโยชน์ในอสังหาฯ ให้ค่าเช่าเป็นของผู้ขายฝากเหมือนเดิม

- ถ้าขายฝากแล้ว มีการให้เช่าหรือใช้ประโยชน์ ต้องมีการตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร

- สิทธิ์ในการเช่าหรือการใช้ประโยชน์จะสิ้นสุดเมื่อไม่ได้ไถ่ทรัพย์สิน

- สิทธิ์ในการไถ่/รับไถ่ สามารถโอนให้ทายาทได้

- ก่อนครบกำหนด 3-6 เดือน ผู้รับซื้อฝากต้องส่งไปรษณีย์ตอบรับให้ผู้ขายฝากทราบถึงวันไถ่ถอนและยอดสินไถ่ พร้อมส่งสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย ถ้าไม่ทำตามผู้ขายฝากมีสิทธิ์ขยายเวลาไถ่ถอนได้อีก 6 เดือน

- กรณีผู้ขายฝากไม่สามารถไถ่ถอนโดยตรงกับผู้รับซื้อฝาก โดยไม่ได้เป็นความผิดของผู้ขายฝาก  ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนได้ที่สำนักงานวางทรัพย์ หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินที่จดทะเบียนขายฝาก ภายใน 30 วัน นับจากวันที่กำหนดไถ่ถอน

- ถ้าผู้ขายฝากไม่สามาารถไถ่ถอนได้ตามกำหนด ผู้ขายฝากต้องส่งมอบทรัพย์สินตามสภาพ ณ วันที่ครบกำหนด

ESTATE BROS.
X