โรงจำนองโฉนด ตอบโจทย์ทุกอาชีพ

โรงจำนองโฉนด ตอบโจทย์ทุกอาชีพ

เมนู

ข่าวสาร / บทความ

ใครรับจำนองบ้าง?? มีเงื่อนไขยัง??

ก่อนอื่นเราควรทราบก่อนว่านิติกรรมการจำนองคืออะไร การจำนองในที่นี้คือ การนำอสังหาริมทรัพย์เช่นบ้านที่ดินคอนโดมาค้ำประกันเงินกู้ โดยจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ แต่มิได้โอนสิทธิ์นั้นๆให้ผู้ให้กู้ เรียกการจำนอง โดยเราจะแบ่งผู้รับจำนองออกเป็น 3 กลุ่มคือ

1 การจำนองกับธนาคาร

2 การจำนองกับบริษัทเอกชน เช่นศรีฯ เมืองฯ เป็นต้น

3 การจำนองกับนายทุนบุคคล

ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้งเงื่อนไขการจำนอง การอนุมัติวงเงินของการจำนอง

โดยกลุ่มที่1 ธนาคาร

ธนาคารนั้นจะให้วงเงินการจำนองอยู่ที่ 80-100% ของมูลค่าหลักทรัพย์ ดอกเบี้ยต่ำ 2-6%ต่อปี

แต่ลูกค้าต้องมีเครดิตมีที่ทำงานเป็นหลักเป็นแหล่งชัดเจนสามารถตรวจสอบได้

กลุ่มที่ 2 บริษัทเอกชน

บริษัทผู้รับจำนองเอกชนมีอยู่ทั่วไป เช่นศรีสวัสดิ์ เมืองไทยลิสซิ่ง เงินเทอร์โบ เป็นต้น บริษัทเอกชนพวกนี้ส่วนใหญ่จะมาจากไฟแนนซ์รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ วงเงินที่ได้จะไม่สูงอยู่ที่ 15-30% ของราคาปัจจุบันหรือประมาณ 50-60% ของราคาประเมิน ส่วนดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 1.25%ต่อเดือน แต่เงื่อนไขในการจำนองต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่าต่อสัญญาเบี้ยปรับล่าช้า ฯลฯ ถ้าเลือกกลุ่มนี้ต้องสอบถามเงื่อนไขให้ดี แต่ก็มีข้อดีที่เข้าถึงง่าย มีสาขาอยู่ทั่วไป

กลุ่มที่ 3 นายทุนบุคคลธรรมดา

หากต้องการใช้เงินด่วน กลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่มที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย หากแต่ต้องเลือกที่เชื่อถือได้

มีความน่าสนใจเพราะมีความยืดหยุ่นได้ไม่ว่าจะเรื่อง วงเงินการจำนอง ดอกเบี้ยการจำนอง วงเงินในการจำนองจะอยู่ที่ 25-40%ของมูลค่าหลักทรัพย์ หรืออาจได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ของราคาประเมินราชการ ในบางพื้นที่ ส่วนดอกเบี้ยเริ่มต้นที่ 1 ถึง 1.25% ต่อเดือน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มนายทุนบุคคลธรรมดาส่วนใหญ่ได้มีการเปลี่ยนมาจดทะเบียนเป็นบริษัทในการรับจำนองอย่างถูกต้อง เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเหตุผลในด้านของภาษี กลุ่มนี้เงื่อนไขส่วนใหญ่จะเจรจาได้ มีความยืดหยุ่น 

ลองตัดสินใจกันดูนะครับสำหรับ 3 กลุ่มผู้รับจำนอง หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย

ขายฝากนิติกรรมนี้น่ากลัวจริงหรือไม่???

ถ้าคุณอยากจะขายฝากบ้านซักหลัง คุณคงเกิดคำถามมากมายในหัวว่า...

ขายฝากคืออะไร??

ขายฝากหรือการจำนำโฉนดนิติกรรมนี้น่ากลัวจริงหรือเปล่า?? 

ถ้าขายฝากบ้านแล้วมีโอกาสโดนยึดบ้านหรือที่ดินมั๊ย?? 

ระหว่างขายฝากบ้านสามารถอยู่อาศัยหรือให้เช่าได้หรือเปล่า??

อยากไถ่ถอนแต่ผู้รับซื้อฝากหายตัวต้องทำยังไง??

และอีกมากมายหลายคำถามเกี่ยวกับการขายฝาก  

เรามาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับนิติกรรมขายฝากกัน

ก่อนอื่นมารู้จักความหมายของคำว่า"ขายฝาก"

แบบง่ายๆกันก่อน ขายฝากคือ การทำสัญญาเงินกู้ต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเอาหลักทรัพย์เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโด หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ มาค้ำประกันเงินกู้แบบโอนสิทธิ์ในทรัพย์ของตนเองไปเป็นของผู้ให้กู้ โดยมีสิทธิ์ที่จะซื้อคืนได้ ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ แถมกฎหมายใหม่ยังให้ผู้รับซื้อฝากส่งจดหมายแจ้งเตือนให้ผู้ขายฝากทราบก่อนหมดสัญญา 3 ถึง 6 เดือน หากผู้ซื้อฝากไม่ส่งจดหมายแจ้งเตือน สัญญาจะต่ออายุไปเองอีก 6 เดือน หรืออีกปัญหาหากคุณขายฝากบ้านไปแล้วอยากจะไถ่ถอนแต่ดันติดต่อผู้รับซื้อฝากไม่ได้ ผู้ขายฝากสามารถนำเงินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ เพื่อชำระหนี้ขายฝากบ้านของคุณและขอไถ่ถอนได้ 

ในปัจจุบันการ บริการเงินกู้ประเภทขายฝาก มีอยู่แพร่หลาย ทั้งทางบริษัทลิสซิ่ง ทั้งบุคคลธรรมดา

สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพียงคุณมีโฉนดบ้าน ที่ดินคอนโด เป็นของตัวเองเท่านั้น อนุมัติง่ายมากเร็วมากด้วย อาชีพอะไรก็กู้ได้ เอกสารทางการเงินก็ไม่ใช้ เครดิตก็ไม่เช็ค คนค้ำก็ไม่ต้องมี แต่ต้องดูเรื่องเงื่อนไขและสัญญาให้ดีถ้าเป็นบริษัทลิสซิ่งบางที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการต่อสัญญา เบี้ยปรับจ่ายล่าช้า ฯลฯ ในเรื่องของดอกเบี้ยทั้งบริษัทลิสซิ่งและนายทุนบุคคล จะมีอัตราเฉลี่ยดอกเบี้ยพอๆกัน อยู่ที่ประมาณร้อยละ 15 %ต่อปี หรือ ร้อยละ 1.25 %ต่อเดือน ชำระกันแต่ดอกเบี้ยเป็นรายเดือนผ่านทางธนาคาร มีเงินต้นมาตัดก็ลดต้นลดดอกกันไป ส่วนเรื่องของระยะเวลาในการขายฝาก โดยปกติสัญญาการขายฝากบ้านส่วนใหญ่สัญญาก็จะเป็นแบบปีต่อปีเหมือนกันหมดแทบทุกเจ้า หมดสัญญาก็มาต่อกันใหม่ ต่อได้ทั้งหมด 10 ครั้ง 10 ครั้งก็ 10 ปี ระหว่างที่ขายฝากบ้านไว้ก็ยังสามารถอยู่อาศัย ให้เช่า หรือใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ ส่วนเรื่องการยึด ถ้าขายฝากบ้านกับบริษัทลิสซิ่งก็คงต้องทำตามกฎเค้าเป๊ะๆไม่ส่งดอกเบี้ย ไม่ต่อสัญญาบริษัทเค้าก็ดำเนินการตามขั้นตอนกันไป แต่ถ้าขายฝากบ้านกับนายทุนบุคคล ส่วนใหญ่นายทุนก็อยากได้แค่ดอกเบี้ยเท่านั้นแหละครับไม่ได้อยากได้หลักทรัพย์ค้ำประกันหรอก มีปัญหาอะไรก็เจรจากัน ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ต้องลองเปรียบเทียบและตัดสินใจดู 

จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด ถ้าจะเอาบ้านมาขายฝากก็คงจะไม่น่ากลัวอีกต่อไป  

ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดิน

😍😄 ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดิน...มีอะไรบ้าง ⁉️       

👉1.พ่อ,แม่.ให้ลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย

-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5 % ของราคาประเมิน

-ค่าอากรแสตมป์ 0.5 % ของราคาประเมินหรือราคาทุนทรัพย์ ขึ้นอยุ่กับว่าราคาใดสูงกว่า

-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% จากราคาประเมิน (เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท)

👉2. พ่อให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือปู่ย่า ตา ยาย ให้หลาน

 -ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5 % ของราคาประเมิน

-ค่าอากรแสตมป์ 0.5 % หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % ของราคาประเมิน หรือราคาทุนทรัพย์ ขึ้นอยุ่กับว่าราคาใดสูงกว่

-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ จากราคาประเมิน

 👉3.ให้กรณีอื่นๆ

 -ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 % ของราคาประเมิน

-ค่าอากรแสตมป์ 0.5 % หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % ของราคาประเมิน หรือราคาทุนทรัพย์ ขึ้นอยุ่กับว่าราคาใดสูงกว่า

-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ จากราคาประเมิน

 👉4. ให้ระหว่างสามีภรรยา

-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5 % ของราคาประเมิน

-ค่าอากรแสตมป์ 0.5 % หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % ของราคาประเมิน หรือราคาทุนทรัพย์ ขึ้นอยุ่กับว่าราคาใดสูงกว่า

 -ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ จากราคาประเมิน

 👉5.การโอนมรดก 

   กรณีที่ฝ่ายรับมรดกเป็นผู้สืบสายเลือด (ลูก หลาน เหลนหรือคู่สมรส) 

 -ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 0.5 % ของราคาประเมิน

   กรณีที่ฝ่ายรับมรดกเป็นญาติ พี่ น้อง ที่ไม่ได้สีบสายเลือดหรือลูกบุญธรรม 

-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 % ของราคาประเมิน

👉6. โอนซื้อขายปกติ

-ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 % ของราคาประเมิน

-ค่าอากรแสตมป์ 0.5 % หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % ของราคาประเมิน ราคาขายหรือราคาทุนทรัพย์ ขึ้นอยุ่กับว่าราคาใดสูงกว่า

 -ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปกติ จากราคาประเมิน

#กรมที่ดิน #สำนักงานที่ดิน #ค่าใช้จ่าย #ทั่วประเทศ #สาระ

สำนักงานที่ดินอิเล็กทรอนิกส์ 15 จังหวัด

กรมที่ดินประกาศให้ 15 จังหวัด เป็นพื้นที่สำนักงานที่ดินอิเลคทรอนิกส์ หมายความว่า ภายใน 15 จังหวัดตามประกาศของกรมที่ดิน ท่านสามารถไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติกรรมที่จังหวัดใดก็ได้ เสมือนท่านไปยื่นคำขอที่สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ เช่น ท่านจะซื้อที่ดินที่ตั้งอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านกับผู้ขายสามารถไปยื่นคำขอซื้อขายที่ดินที่จังหวัดสงขลา กรุงเทพ หรือบึงกาฬ ก็ได้ เจ้าพนักงานที่ดินสามารถจดทะเบียนแบบออนไลท์ ได้แล้วครับ เสร็จภายในวันเดียว ไม่ต้องไปถึงเชียงใหม่

(ที่ดินที่จะทำนิติกรรม และ สำนักงานที่ดินที่จะไปยื่นคำขอ ต้องเป็น 15 จังหวัดนี้เท่านั้น อนาคตจะขยายจนครบทั้งประเทศ)   

ESTATE BROS.
X